แนะนำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

ประวัติวิทยาเขตแพร่

วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๙ พระเทพวิริยาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค ๖ พระราชรัตนมุนี        เจ้าคณะจังหวัดแพร่ และ พระโสภณปริยัติธรรม รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เจ้าคณะจังหวัดน่าน    เจ้าคณะจังหวัดพะเยา เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์  เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย พระสังฆาธิการในเขตภาค ๕ และ ภาค ๖ และ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่   รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ผู้อำนวยการโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่  ผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ คณะศึกษานิเทศก์ และนายอำเภอในจังหวัดแพร่         ได้ประชุมปรึกษากันเพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งวิทยาเขตแพร่ขึ้น ทุกฝ่ายต่างก็เห็นชอบในการจัดตั้ง วิทยาเขตแพร่  ณ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่    และ ได้เสนอเรื่อง เข้าสู่สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์       วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร  และสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๑/๒๕๓๐ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๐ มีมติให้จัดตั้งวิทยาเขตแพร่ขึ้น มีชื่อว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตแพร่  และได้อนุมัติให้เปิดสอน     คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาเอกการศึกษานอกโรงเรียน มีผู้บริหารประกอบด้วย :-

พระเทพวิริยาภรณ์                  เป็นรองอธิการบดี  

พระโสภณปริยัติธรรม               เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร

พระเมธีวราภรณ์                    เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

พระครูโกศลสมณคุณ               เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน

พระครูโสภณธวัชชัย                 เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต 

พระสุนทรธรรมาภรณ์               เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์

พระครูโสภณคุณาภรณ์             เป็นคณบดีคณะครุศาสตร์

พระครูมุนินทร์ธรรมานุวัตร         เป็นรองคณบดีคณะครุศาสตร์

พระครูพิบูลธรรมภาณ              เป็นเลขานุการคณบดีคณะครุศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๓๐ วิทยาเขตแพร่ ตั้งอยู่ที่อาคารมหาจุฬาฯวิทยาเขตแพร่และหอสมุดหลวงพ่อสด    วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร เลขที่ ๑๖ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่  เปิดรับสมัครพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษา และ ปฐมนิเทศ รุ่นแรก เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๐      มีนิสิตเข้าศึกษา ในคณะครุศาสตร์  สาขาวิชาเอกการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน ๕๐ รูป

พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย     มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงลง   พระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา        เล่มที่ ๑๑๔ ตอนที่ ๕๑ก ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัย        ในกำกับของรัฐ เป็นนิติบุคคล

วิทยาเขตแพร่ มีชื่อตามพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่”

ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ ๑๑๑ หมู่ ๕ ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๕๔๖๔-๖๒๗๓, ๐-๕๔๖๔-๖๕๘๕ ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เดินทางจากตัวเมืองไปทางเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ และพื้นที่ตั้งอยู่ติดทางหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๔ วิทยาเขตแพร่   ได้ขยายห้องเรียนไปยังวัดบุญวาทย์วิหาร  จังหวัดลำปาง ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๕  เปิดสอนสาขาวิชาศาสนา มี พระสุนทรมุนี เป็นประธานห้องเรียน โดยเปิดสอนสาขาวิชาศาสนา สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา

พ.ศ. ๒๕๕๖ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหารจังหวัดลำปาง ได้รับการอนุมัติให้ยกฐานะห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง ขึ้นเป็น “วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาจุฬาลงกรณ    ราชวิทยาลัย” โดยได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา หน้า ๕๙ เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๕ ง    ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ขยายสถานที่จัดการศึกษาจากวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ไปที่บ้าน   หนองห้า ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ซึ่งนายรัตน์ พนมขวัญ ได้มอบที่ดินให้ จำนวน ๗ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารสำนักงานหลังแรก

ปัจจุบัน วิทยาเขตแพร่มีพื้นที่ จำนวน ๓๗ ไร่ ๑ งาน ๑๑.๙๐ ตารางวา และอาคาร สิ่งก่อสร้าง อำนวยความสะดวก ดังนี้

          ๑. อาคารเรียน (องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่อุปถัมภ์)

          ๒. อาคารอเนกประสงค์ (หอประชุมสิริราชานุสรณ์)

          ๓. อาคารเรียนรวม (๙๐ ปี พระมหาโพธิวงศาจารย์)

          ๔. อาคารหอสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ

          ๕. อาคารปฏิบัติธรรม (โรงอาหาร/หอฉัน)

          ๖. อาคารปฏิบัติธรรม (หอพักนิสิต)

          ๗. อาคารหอประชุมนวมินทราชูทิศโกศัยนคร        

          ๘. อาคารศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา

Back to top button