เกี่ยวกับมจร แพร่

พระชีวประวัติโดยสังเขป

   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์) มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๙ พระองค์เป็นพระราชปิโยรสที่สนิทเสน่หา ของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาแต่ทรงพระ เยาว์โปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดพระองค์เสมอ แม้ในเวลาเสด็จประพาสหัวเมืองใกล้หรือไกลก็โปรดให้โดยเสด็จด้วยทุกครั้ง พอทรงพระเจริญขึ้นก็ได้รับสนองพระบรมราชโองการในพระราชกิจใหญ่น้อยต่างพระเนตรพระกรรณตลอดรัชกาล

   สำหรับการศึกษาวิชาทั้งปวง พระองค์ทรงเล่าเรียนในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอกรมหลวงวรเสรฐสุดา ซึ่งเป็นขัตติยนารีทรงรอบรู้ทั้งอักขรสมัยและโบราณราชประเพณี นอกจากนี้ก็ทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ ซึ่งนับถือกันในสมัยนั้นว่า สมควรแก่พระราชกุมารทุกอย่าง เช่น ภาษามคธ ทรงมีพระปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อยังเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต เป็นพระอาจารย์ การยิงปืนไฟ ทรงศึกษาในสำนักพระยาอภัยศรเพลิง (ศรี) วิชามวยปล้ำ กระบี่กระบอง ทรงศึกษากับหลวงพลโยธานุโยค(รุ่ง) วิชาอัศวกรรม ทรงศึกษาในสำนักหม่อมเจ้าสิงหนาท ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิทักษเทเวศร์ และวิชาคชกรรม ทรงศึกษากับสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ แต่วิชารัฎฐาภิบาลราชประเพณี และโบราณคดีทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถพระราชทานการฝึกสอนเองตลอดมา

  ในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้จัดการพระราชพิธีรับพระราชทานพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ และให้เป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ โปรดให้จัดหาครูฝรั่งที่เมืองสิงคโปร์คือนางแอนนา เลียวโนเวนส์ เข้ามาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระองค์ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษดังกล่าวอยู่จนครบกำหนดผนวชเป็นสามเณร

  ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ และเมื่อทรงลาผนวชเสด็จออกไปอยู่ฝ่ายหน้าแล้วก็ได้ทรงเล่าเรียนต่อจากหมอจันดเล มิชชันนารีชาวอเมริกันพร้อมๆ กับที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงกวดขันในเรื่องราชการงานแผ่นดินยิ่งขึ้น คือนอกจากที่เสด็จเข้าเฝ้าและโดยเสด็จตามปกติในเวลากลางคืน ถ้าทรงพระราชวินิจฉัยข้อราชการก็มีรับสั่งให้หาสมเด็จพระราชโอรสเข้าไปปฎิบัติประจำพระองค์ เพื่อรับฟังพระบรมราโชวาทและพระบรมราชาธิบายในกระแสรับสั่ง ข้อราชการไปยังเสนาบดีผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อยู่เนือง ๆ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงได้รับความรู้ในเรื่องการปกครองแผ่นดินมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๐๘ อันหมายถึงการเปลี่ยนฐานะของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มาอยู่ในที่รัชทายาท จึงต้องทรงรับการเตรียมการเพื่อปกครองแผ่นดินสืบไปในภายหน้า ดังในปี พ.ศ.๒๔๑๐ พระองค์ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศขึ้นสูงกว่าเดิม เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ และทรงรับหน้าที่ในราชการแผ่นดินด้วยการบัญชากรมมหาดเล็ก กรมล้อมพระราชวังและกรมพระคลังมหาสมบัติ

  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๑๑ ที่ประชุมของเหล่าเสนาบดีและบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่จึงเห็นพ้องกันถวายราชสมบัติ แด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ ต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาท เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑ เป็นรัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยมีกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ แต่โดยเหตุที่พระองค์ทรงได้รับราชสมบัติในขณะที่ยังมิได้ทรงบรรลุนิติภาวะ

  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา) ได้รับแต่งตั้งตามความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี ถึงแม้ว่าจะยังทรงพระเยาว์อยู่ พระองค์ก็เสด็จออกขุนนางตามกำหนดและประทับเป็นประธานในพระราชพิธีต่าง ๆ เสมอ ทรงเข้าร่วมในการประชุมเสนาบดี และทรงรับรู้ข้อราชการต่างๆ จากการกราบบังคมทูลของผู้สำเร็จราชการอยู่เสมอ จึงเป็นการศึกษางานเกี่ยวกับปกครองแผ่นดินเพื่อเตรียมพระองค์ ที่จะบริหารราชการเองในภายหน้าในขณะเดียวกันก็ได้ทรงวางพระองค์ ให้เป็นที่รักใคร่ชื่นชมของข้าราชบริพารโดยมิได้วางอำนาจถือพระองค์ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงปฏิบัติต่อพระประยูรญาติและพระราชวงศ์อย่างเสมอต้นเสมอปลาย

  ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เจริญพระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ ๑๕ วัน แล้วจึงลาผนวช นับเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่เสด็จออกทรงผนวชในระหว่างครองราชสมบัติ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว สามารถจะว่าราชการแผ่นดินได้เองโดยสิทธิ์ขาดไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีกต่อไป จึงได้จัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกใหม่เป็นครั้งที่สองตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ สิ่งพิเศษที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวก็คือ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในงานพระราชพิธีว่า ตั้งแต่นี้ไปการหมอบเฝ้าให้ให้เลิกทรงสั่งให้พระราชวงศ์และข้าราชการซึ่งกำลังหมอบเฝ้าอยู่นั้น ให้ลุกขึ้นยืนทั้งหมด โดยทรงให้เหตุผลว่า ประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้านั้นไม่เหมาะสมกับสมัยของบ้านเมืองแล้ว และในโอกาสเดียวกัน พระองค์ได้ทรงสถาปนาเจ้าพระยาศรีสริยงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้ได้รับบรรดาศักดิ์สูงสุดในฝ่ายขุนนาง เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เพื่อตอบแทนคุณความดีที่รับราชกาลฉลองพระเดชพระคุณแทนพระองค์มาเป็นเวลา ๕ ปี

  • สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม “พระนางเรือล่ม” เนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ในขณะเสด็จทางเรือไปยังพระราชวังบางปะอิน
  • สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ึ่ซงในรัชกาลที่ ๘ ได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกของไทย
  • สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาชิราวุธสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่สอง ซึ่งได้เสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลต่อมา
  • สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ได้ทรงรับสถาปนาพระราชอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมอยู่หลายพระองค์ แต่ที่ทรงยกย่องให้มีพระยศศักดิ์สูงเหนือพระสนมอื่นใด มีอยู่ด้วยกัน ๔ พระองค์ คือ

  สำหรับพระราชโอรสพระราชธิดานั้นทรงมีทั้งหมด ๗๗ พระองค์ คือพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ และพระราชธิดา ๔๔ พระองค์ กับอีกพระองค์หนึ่งซึ่งไม่ทันจะประสูติโดยสิ้นพระชนม์ในพระครรภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัตินานถึง ๔๒ ปี ซึ่งนับว่านานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของไทยในอดีต ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน สิริรวมพระชนมพรรษาได้ ๕๘ พรรษา ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งการครองราชย์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะเสนอพระราชดำริพระบรมราโชบายและพระราชกรณียกิจ เฉพาะในส่วนแห่งการพระศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราชศรัทธาอันมั่นคง เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชนชาวสยามตลอดกาลนาน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะทรงมีพระราชภารกิจทางด้านการปรับปรุงประเทศอยู่มากแล้วก็ตาม แต่ก็ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้า ในการที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

   ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้ดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ก็ตั้งใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงอยู่เป็นนิจ… ข้าพเจ้าอาจปฏิญาณใจได้ว่า ถ้าชีวิตข้าพเจ้ายังอยู่ตราบใด แลข้าพเจ้าคงคิดจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่เป็นนิจ” และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่า “ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า ซึ่งจะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาการพร้อมกันทั้งสองฝ่าย” การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า ดังพระราชดำรัสนั้น คงสืบเนื่องจากการที่ทรงยืดถือปฏิบัติตามกฎ ที่มีอยู่ในพระธรรมศาสตร์ ถือว่าพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ ทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปภถัทมภก เช่นเดียวกับพระบูรพกษัตริย์ ซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมา รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักษณะต่างๆ ดังนี้

   ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ในขณะที่พระองค์เสวยราชสมบัติ แม้จะทรงมีพระราชกรณียกิจเป็นอันมาก ก็ยังได้พระราชอุตสาหะเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุสืบอายุพระพุทธศาสนา และได้ทรงจัดการบวชพระภิกษุทุกปีมิได้ขาด แสดงถึงความมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา

   ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกและพิมพ์เป็นอักษรไทย เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์” นับเป็นครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในครั้งนั้น รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๑,๐๐๐ ชั่ง เป็นค่าจ้างพิมพ์พระไตรปิฎกจำนวน ๑,๐๐๐ จบ และโปรดเกล้าฯ ให้แจกจ่ายไปตามพระอารามต่างๆ ทั่วประเทศเป็นผลให้เหล่าพระสงฆ์ได้อาศัยพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ เป็นแนวทางในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนกระทั่งปัจจุบัน และได้พระราชทานไปยังสถานศึกษา ในต่างประเทศอีกหลายแห่ง ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายในต่างประเทศด้วย

  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๕รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ เพื่อจัดสังฆมณฑลให้เป็นระเบียบเรียบร้อยทั่วพระราชอาณาจักร ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าการปกครองสังฆมณฑลเป็นไปเป็นระเบียบแบบแผนอันเรียบร้อย พระศาสนาก็รุ่งเรืองถาวร ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ แสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๕ ในการนำหลักการสมัยใหม่มาใช้กับการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ มอบอำนาจบริหารให้แก่มหาเถรสมาคมในอันที่จะปกครองตัดสินข้อขัดแย้งและเป็นองค์ปรึกษา แก่สังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร คำตัดสิน ของมหาเถรสมาคมนั้นให้ถือเป็นสิทธิขาด ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ได้จัดอนุโลมตามวิธีปกครองพระราชอาณาจักรคือมีเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และอธิการหมวด บังคับบัญชาในมณฑล เมือง แขวง ตำบล และวัด ให้ขึ้นตรงต่อกันโดยลำดับ กำหนดหน้าที่แต่ละตำแหน่งไว้โดยละเอียดชัดเจนเป็นอำนาจถอดถอน บำรุงรักษา สั่งสอนกุลบุตรตลอดจนเผยแพร่ศาสนา ทำให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือเกิดเอกภาพทางบริหาร ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกัน และสอดคล้องกับการจัดรูปการปกครองของฝ่ายพระราชอาณาจักรในสมัยนั้น นอกจากนี้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ ยังแสดงให้เห็นถึง พระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเห็นคุณค่าของการศึกษาในวัด ในพระราชบัญญัติกำหนดให้พระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไปจนถึงระดับสูงสุดไว้ประการหนึ่งว่า ต้องมีหน้าที่บำรุงการศึกษาด้วย จากพระบรมราโชบายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทรงดำเนินการใหสอดคล้องกับประกาศเรื่องจัดการศึกษาเล่าเรียนในหัวเมืองใน พ.ศ. ๒๔๔๑ (ร.ศ. ๑๑๗ ) ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดต่างๆ มีพระภิกษุเป็นผู้อบรมสั่งสอน และเพื่อให้การจัดการศึกษาในหัวเมืองดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ ๕ จึงได้ทรงพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดการตีพิมพ์หนังสือแบบเรียนหลวง ทั้งส่วนที่จะสอนธรรมปฏิบัติ และวิชาความรู้อย่างอื่นเป็นอันมากเพื่อจะพระราชทานแก่พระภิกษุทั้งหลายไว้สำหรับฝึกสอนกุลบุตรทั่วไป และทรงมอบหน้าที่ให้สมเด็จพระมหามณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสและสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นผู้ดำเนินการจัดการศึกษาหัวเมืองดังกล่าว

   ดังนั้น การที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัดตามหัวเมืองต่างๆ เท่ากับเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย และเป็นการวางรากฐานโรงเรียนหัวเมืองในปัจจุบันด้วย แต่การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งที่จะให้พระสงฆ์มีบทบาทในการบำรุงส่งเสริมการศึกษาของชาตินั้น ก็มีอุปสรรคอยู่บ้าง กล่าวคือ พระสงฆ์บางกลุ่มยังไม่ยอมรับวิธีการอบรมสั่งสอนแบบใหม่ เป็นเหตุให้งานด้านการศึกษาของราษฎรซึ่งรวมอยู่กับการศึกษาของคณะสงฆ์ เจริญก้าวหน้าไปกว่าเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่การบำรุงการศึกษาของราษฎรโดยเสมอภาคนั้น เป็นจุดประสงค์อันแท้จริงที่ทรงยึดถือมาตลอดรัชกาล ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “เจ้านายราชตระกูลนั้นตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุดจะให้ได้โอกาศเล่าเรียนได้เสมอกันไม่ว่าเจ้าว่าขุนว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงขอบอกไว้ว่า การเล่าเรียนในเมืองเรานี้จะเป็นของสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้”

   พระบรมราโชยายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับพระสงฆ์ นอกจากการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้ว ยังได้ทรงตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ทั้งฝ่ายมหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย พระองค์ทรงสถาปนา “มหา มกุฏราชวิทยาลัย” ขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร สำหรับเป็นที่ศึกษาของสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระราชบิดา ส่วนอีกสถานหนึ่ง เป็นที่เล่าเรียนของสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งที่วัดมหาธาตุ เรียกว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระองค์เอง สถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งดังกล่าว

  ในปัจจุบันยังคงดำเนินการส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย นับเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่ง พระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นยังได้แสดงออกให้เห็นจากการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดจำนวนมากมาย ทั้งในกรุงและหัวเมือง เช่น พ.ศ. ๒๔๔๒ โปรดฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตร และทรงประกาศมอบวัดให้เป็นที่ประกอบกิจของสงฆ์ และโปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ กันเช่น สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เพื่ออุทิศถวายพระราชชนนี ทรงให้สร้างวัดราชบพิธ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ ทรงให้สร้างวัดนิเวศน์ธรรมประวัติขึ้นที่พระราชวังบางปะอิน และเอาพระทัยใส่ในการบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดเป็นอันมาก ดังจะเห็นได้จากจดหมายโต้ตอบเกี่ยวกับการบูรณะวัดระหว่างพระองค์กับพระมหสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยทรงเป็นผู้กำหนดกะเกณฑ์ลักษณะสิ่งของต่างๆ ที่จะใช้ในการซ่อมแซมด้วยพระองค์เอง

  เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ในการพระศาสนา เพราะทรงมุ่งหมายจะให้วัดเป็นสถานศึกษาและเป็นแหล่งสืบอายุพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้ว การพระราชกุศลที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินมาทุกปีมิได้ขาด เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ๆ เช่น ทรงทอดพระกฐินและทรงบำเพ็ญการพระราชกุศลต่างๆ ส่วนการพระศาสนาในต่างประเทศนั้นพระองค์ทรงใฝ่พระทัยอยู่เป็นนิจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ พระองค์ได้เสด็จประพาสถึงดินแดนมอญ พม่า อินเดีย ได้เสด็จนมัสการบริโภคเจดีย์เดิมที่มฤคทายวัน ได้ทรงนำศาสนวัตถุและภาพพระพุทธเจดีย์มาสู่พระราชอาณจักร และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ มาควิส เคอร์ซัน อุปราชของประเทศอินเดีย เห็นว่าพระองค์ทรงดำรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก จึงทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุครั้งนั้น ประเทศใกล้เคียงเช่น ญี่ปุ่น พม่า และลังกา ต่างก็แต่งทูตเข้ามาขอพระบรมสารีริกธาตุพระองค์ ก็ทรงแบ่งพระราชทานตามประสงค์เป็นผลให้ความสัมพันธ์กับต่างประเทศมั่นคงขึ้น การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้วถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ก็เป็นผลดีต่อประเทศทุกด้านทั้งฝ่ายสงฆ์ และฆราวาส จุดเด่นประการสำคัญที่ช่วยทำให้การทำนุบำรุงประพุทธศาสนาได้รับความสำเร็จ กล่าวคือ การที่พระลาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่และติดตามผลเรื่อยมา ทั้งยังได้ทรงเชิญชวนพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประชาชนทั่วไป ใหช่วยกันมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นผลให้พระพุทธศาสนาเจริญสืบทอดจนถึงทุกวันนี้ คณาจารย์-เจ้าหน้าที่ มจร. : “๕๐ ปี อุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๔๐)” พ.ศ. ๒๕๔๐, หน้า ๓ -๙

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตแพร่

๑.๑ ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ

ชื่อหน่วยงาน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

สถานที่ตั้ง

เลขที่ ๑๑๑ บ้านหนองห้า หมู่ที่ ๕ ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์  ๕๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๕๔๖๔-๖๕๘๕

ประวัติส่วนงาน

พระเทพวิริยาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค ๖ พระราชรัตนมุนี เจ้าคณะจังหวัดแพร่ และ พระโสภณปริยัติธรรม รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เจ้าคณะจังหวัดน่าน เจ้าคณะจังหวัดพะเยา เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย พระสังฆาธิการในเขตภาค ๕ และ ภาค ๖ และ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ผู้อำนวยการโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ คณะศึกษานิเทศก์ และ นายอำเภอ ในจังหวัดแพร่ ได้ประชุมปรึกษากัน วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๙ เพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งวิทยาเขตแพร่ขึ้น ทุกฝ่ายต่างก็เห็นชอบในการจัดตั้ง วิทยาเขตแพร่ ณ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ ได้เสนอเรื่อง เข้าสู่สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร และสภามหาวิทยาลัย
ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๑/๒๕๓๐ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๐ มีมติให้จัดตั้งวิทยาเขตแพร่ขึ้น มีชื่อว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตแพร่ และได้อนุมัติให้เปิดสอน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาเอกการศึกษานอกโรงเรียน มีผู้บริหารประกอบด้วย :-

พระเทพวิริยาภรณ์               เป็นรองอธิการบดี

พระโสภณปริยัติธรรม           เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร

พระเมธีวราภรณ์                  เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

พระครูโกศลสมณคุณ           เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน

พระครูโสภณธวัชชัย             เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต

พระสุนทรธรรมาภรณ์            เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์

พระครูโสภณคุณาภรณ์         เป็นคณบดีคณะครุศาสตร์

พระครูมุนินทร์ธรรมานุวัตร     เป็นรองคณบดีคณะครุศาสตร์

พระครูพิบูลธรรมภาณ           เป็นเลขานุการคณบดีคณะครุศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๓๐ วิทยาเขตแพร่ ตั้งอยู่ที่อาคารมหาจุฬาฯวิทยาเขตแพร่และหอสมุดหลวงพ่อสด
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร เลขที่ ๑๖ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เปิดรับสมัครพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษา และ ปฐมนิเทศ รุ่นแรก เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๐ มีนิสิตเข้าศึกษา ในคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาเอกการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน ๕๐ รูป

พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๔ ตอนที่ ๕๑ ก
ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ เป็นนิติบุคคล

วิทยาเขตแพร่ มีชื่อตามพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่”

ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ ๑๑๑ หมู่ ๕ ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐ โทรศัพท์
๐-๕๔๖๔-๖๒๗๓, ๐-๕๔๖๔-๖๕๘๕ ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เดินทางจากตัวเมืองไปทางเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ และพื้นที่ตั้งอยู่ติดทางหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๔ วิทยาเขตแพร่ ได้ขยายห้องเรียนไปยังวัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง
ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๕ เปิดสอนสาขาวิชาศาสนา มี พระราชธรรมาลังการ เป็นประธานห้องเรียน โดยเปิดสอนสาขาวิชาศาสนา สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาพระพุทธศาสนา สาขาการสอนพระพุทธศาสนา

พ.ศ. ๒๕๕๖ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหารจังหวัดลำปาง ได้รับการอนุมัติให้ยกฐานะห้องเรียน
วัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง ขึ้นเป็น “วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”
โดยได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา หน้า ๕๙ เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๕ง ราชกิจจานุเบกษา
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ขยายสถานที่จัดการศึกษาจากวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ไปที่บ้านหนองห้า ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นายรัตน์ พนมขวัญ ได้มอบที่ดินให้ จำนวน ๗ ไร่
๓ งาน ๕๐ ตารางวา และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารสำนักงานหลังแรก

ปัจจุบัน วิทยาเขตแพร่ เปิดทำการเรียนการสอน จำนวน ๖ สาขาวิชา ได้แก่

๑) ส่วนการจัดการศึกษา เปิดสอนระดับปริญญาตรี ๕ สาขาวิชา

– สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

– สาขาวิชาสังคมศึกษา

– สาขาวิชารัฐศาสตร์

– สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

– สาขาวิชานิติศาสตร์

๒) ส่วนการจัดการศึกษา เปิดสอนระดับปริญญาโท ๑ สาขาวิชา

– สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
– สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต

๑.๒ ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ

     ปรัชญามหาวิทยาลัย

             จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่พัฒนาจิตใจและสังคม

     ปณิธานมหาวิทยาลัย

             เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์

     วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัย

              มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก           

     วิสัยทัศน์วิทยาเขตแพร่

      ศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา

 

     พันธกิจมหาวิทยาลัย

             มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มุ่งปฏิบัติภารกิจหลักสำคัญ
ในฐานะสถาบัน อุดมศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล โดยจัดการเรียนการสอนในลักษณะของการนำความรู้ ทางด้านพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ให้เกิดเป็นองค์ความรู้
ที่นำไปสู่การพัฒนาจิตใจและสังคมของคนในชาติอย่างทั่วถึง ซึ่งมีพันธกิจที่สำคัญ ๔ ด้านดังนี้

          ๑) ผลิตบัณฑิต

           มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตและบุคลกร ที่ผ่านการศึกษาอบรม เป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้
มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นำทางจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถ และทักษะในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม

          ๒) วิจัยและพัฒนา

          มุ่งส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
และสันติสุข รวมทั้งการสร้างเครือข่ายกับสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ
เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักวิจัยให้นำไปสู่ความเป็นสากล

          ๓) ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม

          มุ่งเน้นการให้บริการวิชาการในรูปแบบที่หลากหลายมีการบริการหรือบริหารเพื่อให้พัฒนาพระพุทธศาสนาพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน มีความมุ่งมั่นในการให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์ และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และความร่วมมือ
อันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนในระดับชาติ

          ๔) ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

          มุ่งส่งเสริมการศึกษาผสมผสานทางวัฒนธรรม และ การมีส่วนร่วมในประชาคมโลก
ด้านพระพุทธศาสนา โดยการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสังคมไทย เป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การรักษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันในประชาคมโลกอย่างมีเอกลักษณ์และศักดิ์ศรี เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับบุคคล องค์กรและสังคม           

๑.๓ เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยและอัตลักษณ์บัณฑิต                      

              เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย

              เอกลักษณ์มหาวิทยาลัยหมายถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยดำเนินภารกิจจัดการศึกษาสนองพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราชพระองค์ผู้ประสงค์จะให้เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป ลักษณะที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยคือการนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้เพื่อการบริการวิชาการแก่สังคม

              ดังนั้นมหาวิทยาลัยกำหนดเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไว้ว่า “บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา” เพื่อสะท้อนให้เห็นลักษณะเด่นและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

              เอกลักษณ์ของวิทยาเขตแพร่

              “บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา”

              อัตลักษณ์ของวิทยาเขตแพร่

              “ประยุกต์พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม”

              อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย

              อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยหมายถึงผลสำเร็จของมหาวิทยาลัยตามปรัชญาปณิธานพันธกิจและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยดำเนินการภายใต้ปรัชญาที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่พัฒนาจิตใจและสังคม” โดยมีปณิธานเพื่อศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัยส่งเสริมและให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

              ดังนั้นมหาวิทยาลัยกำหนดอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยว่า “ประยุกต์พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม

              อัตลักษณ์บัณฑิต

              อัตลักษณ์บัณฑิตหมายถึงผลสำเร็จของผู้เรียนตามปรัชญาปณิธานพันธกิจและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญามีความสามารถในการแก้ปัญหามีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวมรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล และมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะและจริยธรรมโดยพัฒนาหลักสูตร
พุทธศาสตรบัณฑิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิตและพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มหาวิทยาลัยกำหนดอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยว่า“มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา

 ๑.๔ โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารวิทยาเขตแพร่

          ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย คราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ โดยได้แบ่งส่วนงานเพื่อรับผิดชอบภาระงานของมหาวิทยาลัยออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้

          ๑. สำนักงานวิทยาเขตแพร่ แบ่งส่วนงานเป็น ๒ ส่วนดังนี้

                    ๑.๑. ส่วนงานบริหาร

                    ๑.๒. ส่วนคลังและทรัพย์สิน

          ๒. สำนักวิชาการวิทยาเขตแพร่ มี ๑ ส่วนคือ มีส่วนสนับสนุนวิชาการ

          ๓. วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มี ๑ สำนัก คือ สำนักงานวิทยาลัย   

ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของส่วนงาน

          ภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

  • สำนักงานวิทยาเขตแพร่

          มีภารกิจเกี่ยวกับการงานกิจการของวิทยาเขตด้านงานบริหารทั่วไป และบริหารงานบุคคล
งานแผนงานและงบประมาณ งานทรัพย์สินและพัสดุ งานการเงินและบัญชีของวิทยาเขต

  • ส่วนงานบริหาร มีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านธุรการ ประสานงาน ด้านงบประมาณ การเงิน การบัญชี พัสดุ นโยบายและแผนพัฒนา รวมทั้งประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานบริหาร ปฏิบัติงานด้านธุรการ งานประชาสัมพันธ์องค์กร งานบุคคล
    งานสวัสดิการ งานเลขานุการผู้บริหาร งานพิธีการประชุม งานนิติการ งานกองทุนพัฒนา รวมทั้งประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานวางแผนและงบประมาณ ปฏิบัติงานนโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย
    งานงบประมาณ งานวิจัยสถาบัน งานสารสนเทศ งานติดตามประเมินผลงานประจำปี และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

          ๒) ส่วนคลังและทรัพย์สิน มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานศึกษา วิเคราะห์
และ ดำเนินการเกี่ยวกับงานคลังและทรัพย์สิน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งานรับ– จ่ายเงิน
งานงบประมาณ งานตรวจอนุมัติ งานบัญชี งานพัสดุ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  • กลุ่มงานการเงิน ปฏิบัติงานศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องการเงินการรับ – จ่ายเงิน จัดเก็บรักษาเงินตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ รายงานยอดเงินคงเหลือเสนอผู้บริหารเป็นประจำที่มีการรับ – จ่ายเงิน ดำเนินการเตรียมจ่ายเงินสดและเช็ค เสนอผู้มีอำนาจสั่งจ่าย ลงนาม และดำเนินการฝาก-ถอน และโอนเงินฝากธนาคาร ทุกประเภท ร่วมทั้งบริหารจัดการการเงิน เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานบัญชี ปฏิบัติงานจัดทำเอกสารหลักฐาน บันทึกรายการบัญชี ปรับปรุงบัญชี
    การปิดบัญชี จัดทำรายงานทางการเงิน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานทรัพย์สินและพัสดุ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่ ยานพาหนะ และงานพัสดุ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • สำนักวิชาการวิทยาเขตแพร่

          มีภารกิจเกี่ยวกับงานวิชาการของวิทยาเขตในส่วนงานทะเบียนและวัดผล งานเทคโนโลยีสารสนเทศและห้องสมุด งานวิจัย งานมาตรฐาน งานประกันคุณภาพการศึกษา และงานส่งเสริมสนับสนุนพระพุทธศาสนาและบริการสังคม

          ๑) ส่วนสนับสนุนวิชาการ มีอำนาจหน้าที่ และ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการ งานจัดเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการวางแผน และการดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียน และวัดผล งานเทคโนโลยีสารสนเทศและห้องสมุด งานวิจัย มาตรฐานและงานประกันคุณภาพการศึกษา และงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม รวมทั้งการจัดเก็บสถิติทางวิชาการ ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนทางวิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยและปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  • กลุ่มงานทะเบียนและวัดผล ปฏิบัติงานจัดทำคู่มือ การรับสมัคร การคัดเลือกนิสิต
    และการลงทะเบียน กองทุนการศึกษา ข้อมูลนิสิต และให้บริการเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ งานจัดทำระบบการวัดผลการศึกษา แจ้งผลการศึกษา ตรวจสอบการขออนุมัติปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ออกหนังสือสำคัญแก่ผู้สำเร็จการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานห้องสมุดและสารสนเทศ ปฏิบัติงานห้องสมุด และเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น จัดหาและให้บริการยืม – คืนหนังสือ วารสาร เอกสารวิชาการ อุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ จัดอบรมบุคลากร นิสิต นักศึกษา ของวิทยาเขตให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นคว้าหรือสนับสนุนการทำงาน รวมทั้งผลิต จัดหา โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการทำงานและการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานวิจัยและคุณภาพการศึกษา ปฏิบัติงานวางแผนและพัฒนางานวิจัย จัดหาทุนสนับสนุนงานวิจัย และเผยแพร่และนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวบรวมและประมวล ข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา งานพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา เผยแพร่การประกันคุณภาพการศึกษา งานอบรมและบริการวิชาการ รวมทั้งการจัดเก็บสถิติทางวิชาการ ต่าง ๆ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม ปฏิบัติงานจัดกิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุน เผยแผ่ ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรม งานบริการ ฝึกฝนอบรมเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม วิปัสสนากรรมฐาน งานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน งานบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนหรืออื่น ๆ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • วิทยาลัยสงฆ์แพร่

          มีภารกิจเกี่ยวกับงานของวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการจัดงานการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิขา ต่าง ๆ งานกิจการนิสิต

          สำนักงานวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ งานกิจการนิสิต และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  • กลุ่มงานบริหาร ปฏิบัติงานด้านธุรการ งานบริหารงานทั่วไป และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานวิชาการและวางแผน ปฏิบัติงานจัดทำ ปรับปรุง งานวางแผนและพัฒนาหลักสูตร ส่งเสริมและประเมินประสิทธิภาพการสอน งานตำราและเอกสารทางวิชาการ และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
  • กลุ่มงานบริการการศึกษา ปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอน ในสาขาวิชาต่าง ๆ
    งานบัณฑิตศึกษา จัดทำตารางสอน ตารางสอบ ขั้นตอนการจัดสอบ งานฝึกอบรม และงานบริการการศึกษา ส่งเสริมกิจการนิสิต งานติดตามประเมินผลการปฏิบัติศาสนกิจ และปฏิบัติงานบริการสังคมของนิสิต งานสวัสดิการนิสิต และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

๑.๕ รายชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร และกรรมการสภาชุดปัจจุบัน

          รายชื่อผู้บริหาร วิทยาเขตแพร่

  • พระราชเขมากร,รศ.ดร. รองอธิการบดีวิทยาเขตแพร่
  • พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร
  • นายสุขุม กันกา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป
  • ดร.ธาดา เจริญกุศล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
  • ผศ.สุพจน์ แก้วไพฑูรย์ รก.ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตแพร่
  • พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ,ดร. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการวิทยาเขตแพร่
  • พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์แพร่
  • พระครูสิทธิชยาภิรัต,ดร. รองผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตแพร่
  • ผศ.ดร.สมจิต ขอนวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาลัย
  • ผศ.นวัชโรจน์ อินเต็ม ผู้อำนวยการส่วนสนับสนุนวิชาการ
  • นางสาวฐิตารีย์ วงศ์สูง ผู้อำนวยการส่วนคลังและทรัพย์สิน
  • นายธีรวัฒน์ ผัดผ่อง           ผู้อำนวยการส่วนบริหาร

 

๑.๖ หลักสูตรและจำนวนนิสิต

ข้อมูลนิสิตประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒

หลักสูตรและจำนวนนิสิตระดับปริญญาตรี

 

คณะ

 

สาขาวิชา

ชั้นปีที่

รวมทั้งสิ้น

 

พุทธศาสตร์

พระพุทธศาสนา     

๔๓

๑๒

๖๔

ครุศาสตร์

สังคมศึกษา

๑๑

๑๗

๑๕

๑๓

๖๕

การสอนภาษาอังกฤษ

๑๐

๒๘

สังคมศาสตร์

รัฐศาสตร์

๕๖

๕๖

๕๒

๑๗

๑๘๑

นิติศาสตร์

๓๓

๓๓

รวม

๑๔๔

๘๒

๘๘

๓๘

๑๙

๓๗๑

 

หลักสูตรและจำนวนนิสิตระดับปริญญาโท

คณะ

สาขาวิชา

สถานะ

ชั้นปีที่

รวมทั้งสิ้น

รักษาสถานภาพ ฯ

บัณฑิตวิทยาลัย

พระพุทธศาสนา

บรรพชิต

๑๗

  

๑๗

คฤหัสถ์

  

รวม

๑๘

  

๑๘

 

จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ระดับปริญญาตรี

คณะ

สาขาวิชา

จำนวน

พุทธศาสตร์

พระพุทธศาสนา     

ครุศาสตร์

สังคมศึกษา

การสอนภาษาอังกฤษ

สังคมศาสตร์

รัฐศาสตร์

๔๙

นิติศาสตร์

รวม

๕๙

 

 ระดับปริญญาโท

คณะ

สาขาวิชา

จำนวน

บัณฑิตวิทยาลัย

พระพุทธศาสนา     

รวม

๕๙

 

๑.๗ บุคลากร

          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีบุคลากรทั้งสิ้น ๖๘ รูป/คน ประกอบด้วย

  • สายวิชาการ จำนวน  ๑๗     รูป/คน
  • สายปฏิบัติการ จำนวน  ๑๗     รูป/คน
  • สายวิชาการ (อัตราจ้าง) จำนวน  ๑๘     รูป/คน
  • สายปฏิบัติการ (อัตราจ้าง) จำนวน  ๑๕     รูป/คน
  • ตำแหน่งบริหารจากบุคคลภายนอก จำนวน   ๑       คน

              รวมทั้งสิ้น                  จำนวน  ๖๘     รูป/คน

บุคลากร สายวิชาการ จำนวน ๑๗ รูป/คน

ที่

ชื่อ – สกุล/ฉายา

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา (เพิ่มนักธรรม และธรรมศึกษา)

พระราชเขมากร,รศ.ดร.

รองอธิการบดีวิทยาเขตแพร่/

อาจารย์

ป.ธ.๙., พธ.บ., M.A., Ph.D.

พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์,ผศ.ดร.

ผอ.วิทยาลัยสงฆ์แพร่/อาจารย์

ศศ.บ., ศศ.ม, รป.ม., Ph.D.

พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ,ดร.

ผอ.สำนักวิชาการวิทยาเขตแพร่/

อาจารย์

ป.ธ. ๙, พธ.บ., ป.วค., วท.ม., พธ.ด.

ผศ.สุพจน์ แก้วไพฑูรย์

รก.ผอ.สำนักงานวิทยาเขตแพร่/

อาจารย์

ป.ธ.๖., พธ.บ., M.A,

ผศ.ดร.สมจิต ขอนวงค์

ผอ.สำนักงานวิทยาลัย/อาจารย์

ศศ.บ., ศษ.ม., Ph.D.

ผศ.นวัชโรจน์ อินเต็ม

ผอ.ส่วนสนับสนุนวิชาการ/

อาจารย์

ป.ธ..๖, พธ.บ., กศ.ม.

พระครูโสภณกิตติบัณฑิต,ผศ.ดร.

อาจารย์

ป.ธ. ๑-๒ พธ.บ., ร.บ., ร..ม., M.Phil., Ph.D.

พระครูปริยัติวรากร,ผศ.ดร.

อาจารย์

ป.ธ.๔, พธ.บ., กศ.ม, Ph.D.

พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ,ดร.

อาจารย์

พธ.บ., พธ.ม., พธ.ด.

๑๐

รศ.รวีโรจน์ ศรีคำภา

อาจารย์

พธ.บ., กศ.ม.

๑๑

ผศ.ดร.อรอนงค์ วูวงศ์

อาจารย์

ศศ.บ.,  ศษ.ม., Ph.D.

๑๒

ผศ.ดร.สายัณห์ อินนันใจ

อาจารย์

ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A, Ph.D

๑๓

รศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา

อาจารย์

ค.บ., ศศ.บ., กศ.ม., รป.ม.

๑๔

ผศ.ชลธิชา จิรภัคพงค์

อาจารย์

ศศ.บ., กศ.ม., ศษ.ม.

๑๕

ผศ.เกรียงศักดิ์ ฟองคำ

อาจารย์

พธ.บ., M.A.

๑๖

ผศ.ปัญญา สุนันตา

อาจารย์

พธ.บ., M.A.

๑๗

ผศ.ดร.พรหมเรศ แก้วโมลา

อาจารย์

พธ.บ., กศ.ม., Ph.D.

 

 

บุคลากร สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารงานทั่วไปจำนวน ๑๗ รูป/คน

ที่

ชื่อ-สกุล/ฉายา

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

พระครูสิทธิชยาภิรัต,ดร.

รองผอ.สำนักงานวิทยาเขตแพร่/นักทรัพยากรบุคคล

ป.ธ. ๑-๒, พธ.บ., ศศ.ม., Ph.D.

พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์,ดร.

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร/นักประชาสัมพันธ์

ป.ธ. ๑-๒, พธ.บ., พธ.ม., พธ.ด.

นางสาวฐิตารีย์ วงศ์สูง

ผอ.ส่วนคลังและทรัพย์สิน/นักวิชาการการเงินและบัญชีชำนาญการ

ศศ.บ., กศ.ม.

นายธีรวัฒน์ ผัดผ่อง

ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร/นักวิชาการพัสดุชำนาญการ

พธ.บ., พธ.ม.

พระอธิการศักดิ์ดา ฉนฺทโก,ดร.

นักจัดการงานทั่วไป

พธ.บ., กศ.ม., พธ.ด.

พระสมพงศ์ มหาปุญฺโญ

นักวิชาการศึกษา

พธ.บ.,รป.ม.

พระมหาฐิติพงษ์ วรทสฺสี

นักจัดการงานทั่วไป

พธ.บ.,รป.ม.

นายมงคล มานพกวี

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

ศศ.บ., กศ.ม.

นางสาวพิราวรรณ จักร์คำ

นักวิชาการศึกษาชำนาญการ

ศศ.บ., กศ.ม.

๑๐

นายจักริน ปัญญาหาญ

นักวิชาการการเงินและบัญชี

ศศ.บ.,ค.บ.,ศศ.ม.,ศษ.ม.,ร.ม.,บธ.ม.,ป.บัณฑิต

๑๑

นางสาวพัฒน์นรี อัฐวงศ์

นักวิชาการศึกษา

ศศ.บ., กศ.ม.

๑๒

นายธีรวัฒน์ จันทร์จำรัส

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ป.ธ.๕, พธ.บ, ศศ.ม.

๑๓

นางสาวธันย์ธีรา ธรรมจักร

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

บธ.บ., กศ.ม., พธ.ม.

๑๔

นายกริช อินเต็ม

นักวิชาการโสตทัศนศึกษา

ชำนาญการ

พธ.บ., ป.วค., พธ.ม.

๑๕

นางสาวรุ่งนภา เชื้อแพทย์

นักวิชาการการเงินและบัญชี

บช.บ.

๑๖

นางวลัยพรรณ อินเต็ม

บรรณารักษ์

พธ.บ., ทล.บ.

๑๗

นายธนพล เกตุรัตน์

พนักงานขับรถ

พธ.บ.

 

 

บุคลากรสายวิชาการ อัตราจ้าง จำนวน ๑๘ รูป/คน

ที่

ชื่อ-สกุล/ฉายา

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

ดร.ธาดา เจริญกุศล

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ/อาจารย์

น.บ., รป..ม., พธ.ด., ป.พ.ส, ส.บ., พย.ม., พธ.ด., ธศ.โท

พระศักดิธัช สํวโร,ดร.

อาจารย์

รบ., พธ.ม., พธ.ด.

รศ.พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์

อาจารย์

ปกศ.สูง, ค.บ., กศ.ม.

ดร.ดำเนิน หมายดี

อาจารย์

ป.ธ.๔, พธ.บ., พธ.ม,,พธ.ด.

นายปุญยวีร์ มงคลพิพัฒน์พร

อาจารย์

พธ.บ., ศษ.ม.

นายอภิชา สุขจีน

อาจารย์

ศศ.บ., พธ.ม.

นางสายพิณ รุ่งวัฒนกิจ

อาจารย์

ศศ.บ., ค.ม.

นางสุมณเฑียร แก่นมณี

อาจารย์

กศ.บ, กศ.ม

นางสาวนพรัตน์ รัตนวงศ์

อาจารย์

ศศ.บ, ค.ม

๑๐

นายนิติพงษ์ กาวีวล

อาจารย์

วท.บ., วท.ม.

๑๑

นายอุเทน สุขทั่วญาติ

อาจารย์

น.บ., น.ม.

๑๒

นายศรศักดิ์ อินทะกันฑ์

อาจารย์

น.บ.,น.ม.

๑๓

นายณัฏภณ กุลนพฤกษ์

อาจารย์

น.บ., น.บ.ท., น.ม.

๑๔

นางสาวพัชราภรณ์ ห่อตระกูล

อาจารย์

น.บ., น.บ.ท., LL.M.

๑๕

นางสาวแพรวนภา กองทิพย์

อาจารย์

น.บ. นม.

๑๖

นางสาวพรสวรรค์ สุขไมตรี

อาจารย์

ร.บ., ร.ม.

๑๗

นางสาวสุพิชญา  กันกา

อาจารย์

น.บ. นม.

๑๘

นายธนนันท์  คุ้มถิ่นแก้ว

อาจารย์

ศศ.บ., ร.ม.

 

 

บุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารงานทั่วไป อัตราจ้าง จำนวน ๑๕ รูป/คน

ที่

ชื่อ – สกุล/ฉายา

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

พระมหาชนินทร์ อธิวโร

นักวิชาการศึกษา

ป.ธ.๓, พธ.บ., พธ.ม.

พระวุฒิชัย ขนฺติพโล

นักจัดการงานทั่วไป

ศศ.บ., พธ.ม.

นางสาวพัชรวรรณ สวัสดี

นักทรัพยากรบุคคล

บธ.บ., พธ.บ., พธ.ม.

นางสาวตรีรัตน์ สายใจ

นักวิชาการการเงินและบัญชี

ปวส., พธ.บ.

นางสาวกุณฑิกา สุคันธมาลา

นักวิชาการการเงินและบัญชี

บช.บ., บช.ม.

นายอดินันท์  สุวรรณรัตน์

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ปวส., บธ.บ.

นายธัชชัย  สมปาน

นักวิชาการพัสดุ

นธ.เอก,พธ.บ.,พธ.ม.

นายสุนทร  บุญยงค์

นักประชาสัมพันธ์

นธ.เอก, ป.ธ.๑-๒, พธ.บ.

นางจุฑาธิป ผัดผ่อง

นักจัดการงานทั่วไป

ปวส, พธ.บ. ,พธ.ม.

๑๐

จ.ส.อ.สายัณห์ สมณศักดิ์

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

ม.๖

๑๑

นายประชัน เหมืองหม้อ

คนสวน

ป.๖

๑๒

นางแสงหล้า ดาวหาญ

นักการภารโรง

ป.๖

๑๓

นางสาวปียาวัน เหมืองหม้อ

นักการภารโรง

พธ.บ.

๑๔

นายมงคล วงศ์ยศ

พนักงานขับรถ

พธ.บ.

๑๕

นางนารีรัตน์ สารภี

นักการภารโรง

ม.๓

 

ตำแหน่งบริหาร จากบุคคลภายนอก ๑ คน

ที่

ชื่อ – สกุล/ฉายา

ตำแหน่ง

วุฒิการศึกษา

นายสุขุม กันกา

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป

นบ., รป.ม.

 

 

แผนภูมิเปรียบเทียบจำนวนบุคลากร แยกตามสายงาน

จำนวนบุคลากร วิทยาเขตแพร่ (จำแนกตามประเภทและวุฒิการศึกษา)

ประเภทบุคลากร

จำนวนบุคลากร
จำแนกตามวุฒิการศึกษา

รวม

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

อนุปริญญา

ต่ำกว่าอนุปริญญา

สายวิชาการ

๑๐

๑๗

สายวิชาการ (อัตราจ้าง)

๑๕

๑๘

รวม

๑๓

๒๒

๓๕

จำนวนบุคลากร วิทยาเขตแพร่ (จำแนกตามประเภทและวุฒิการศึกษา)

ประเภทบุคลากร

จำนวนบุคลากร
จำแนกตามวุฒิการศึกษา

รวม

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

อนุปริญญา

ต่ำกว่าอนุปริญญา

สายปฏิบัติการ

๑๒

๑๗

สายปฏิบัติการ (อัตราจ้าง)

๑๕

รวม

๑๘

๓๒

จำนวนบุคลากร (จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ)

อาจารย์ประจำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์

๒๑

๑๐

 

อาคารสถานที่ของวิทยาเขตแพร่

 ปัจจุบัน วิทยาเขตแพร่มีพื้นที่ จำนวน ๓๖ ไร่ ๑ งาน ๑๒ ตารางวา และอาคาร สิ่งก่อสร้าง อำนวยความสะดวก ดังนี้

๑. อาคารเรียน (องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่อุปถัมภ์)

๒. อาคารอเนกประสงค์ (หอประชุมสิริราชานุสรณ์)

๓. อาคารเรียน (๙๐ ปี พระมหาโพธิวงศาจารย์)

๔. อาคารหอสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ

๕. อาคารปฏิบัติธรรม (โรงอาหาร/หอฉัน)

๖. อาคารปฏิบัติธรรม (หอพักนิสิต)

๗. อาคารอเนกประสงค์ (หอประชุมนวมินทราชูทิศโกศัยนคร)    

๘. อาคารเรียน (เฉลิมพระเกียรติ)

 

ผู้บริหาร วิทยาเขตแพร่

พระราชเขมากร,รศ.ดร.

รองอธิการบดีวิทยาเขตแพร่
Show Details

พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์,ดร.

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร
Show Details

นายสุขุม กันกา

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป
Show Details

ดร.ธาดา เจริญกุศล

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
Show Details

พระครูสิทธิชยาภิรัต,ดร

ผู้อำนวยการ สำนักงานวิทยาเขตแพร่
Show Details

ผศ.สุพจน์ แก้วไพฑูรย์

รองผู้อำนวยการ สำนักงานวิทยาเขตแพร่
Show Details

นายธีรวัฒน์ ผัดผ่อง

ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร/นักวิชาการพัสดุชำนาญการ
Show Details

นางสาวฐิตารีย์ วงศ์สูง

ผู้อำนวยการส่วนคลังและทรัพย์สิน/นักวิชาการการเงินและบัญชีชำนาญการ
Show Details

พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์,ผศ.ดร.

ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์
Show Details

ผศ.ดร.สมจิต ขอนวงศ

ผู้อำนวยการ สำนักงานวิทยาลัยฆ์
Show Details

พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ,ดร.

ผู้อำนวยการสำนักงานวิชาการวิขทยาเขตแพร่

ระดับปริญญาเอก ที่เข้าศึกษา พ.ศ. 2558 สาขาวิชา พระพุทธศาสนา คณะ พุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยา วิทยาเขตเชียงใหม่ ประเทศ ไทย ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2561

นายกริช อินเต็ม

ผู้อำนวยการส่วนสนับสนุนวิชาการ / นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ชำนาญการ
กลุ่มงานบริหาร

ปฏิบัติงานด้านธุรการ งานบริหารงานทั่วไป
ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานบัณทิตศึกษา
กลุ่มงานวิชาการและวางแผน

ปฏิบัติงานจัดทำ ปรับปรุง งานวางแผน
พัฒนาหลักสูตร ส่งเสริม
ประเมินประสิทธิภาพการสอน
งานตำราและเอกสารทางวิชาการ
ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานบริการการศึกษา

ปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอน ในสาขาวิชาต่าง ๆ
งานบัณฑิตศึกษา จัดทำตารางสอน ตารางสอบ ขั้นตอนการจัดสอบ
งานฝึกอบรม งานบริการการศึกษา
ส่งเสริมกิจการนิสิต งานติดตาม
ประเมินผลการปฏิบัติศาสนกิจ 
ปฏิบัติงานบริการสังคมของนิสิต
งานสวัสดิการนิสิต
ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานบริหาร

ปฏิบัติงานด้านธุรการ
งานประชาสัมพันธ์องค์กร
งานบุคคล  งานสวัสดิการ
งานเลขานุการผู้บริหาร
งานพิธีการประชุม งานนิติการ
งานกองทุนพัฒนา
รวมทั้งประสานงานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานแผนและงบประมาณ

ปฏิบัติงานนโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย

งานงบประมาณ งานวิจัยสถาบัน งานสารสนเทศ งานติดตามประเมินผลงานประจำปี ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานการเงิน

ปฏิบัติงานศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องการเงินการรับ –จ่ายเงิน
เก็บรักษาเงินตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ
รายงานยอดเงิน คงเหลือเสนอผู้บริหารเป็นประจำที่มีการรับ – จ่ายเงิน
ดำเนินการเตรียมจ่ายเงินสดและเช็ค เสนอผู้มีอำนาจสั่งจ่าย ลงนาม และดำเนินการฝาก-ถอน
และโอนเงินฝากธนาคาร ทุกประเภท ร่วมทั้งบริหารจัดการการเงิน
เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด
และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานบัญชี

ปฏิบัติงานจัดทำเอกสารหลักฐาน
บันทึกรายการบัญชี ปรับปรุงบัญชี
การปิดบัญชี จัดทำรายงานทางการเงิน
และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 

กลุ่มงานทรัพย์สินและพัสดุ

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่
ยานพาหนะ และงานพัสดุ
และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมาย

นายธีรวัฒน์ ผัดผ่อง
นักวิชาการพัสดุ ชำนาญการ

เบอร์โทรศัพท์ :
0654945956
Email : teerawat.phat@mcu.ac.th 

งานส่งเสริมพระพุทธศาสนา

 ปฏิบัติงานจัดกิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุน เผยแผ่ ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
เว็บไซต์งานส่งเสริมพระพุทธศาสนา

http://www.info.mcu.ac.th/

งานบริการวิชาการแก่สังคม

งานบริการ ฝึกฝนอบรมเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม วิปัสสนากรรมฐาน 
งานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน งานบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
เว็ปไซต์งานบริการสังคม
http://www.stud.mcu.ac.th/gbs/

งานทะเบียนและวัดผล

ปฏิบัติงานจัดทำคู่มือ การรับสมัคร การคัดเลือกนิสิต และการลงทะเบียน กองทุนการศึกษา ข้อมูลนิสิต และให้บริการเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ
งานจัดทำระบบการวัดผลการศึกษา แจ้งผลการศึกษา ตรวจสอบการขออนุมัติปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ออกหนังสือสำคัญแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

เว็บไซต์ระบบทะเบียน >>http://regweb.mcu.ac.th

ห้องสมุดและสารสนเทศ

 ปฏิบัติงานห้องสมุด และเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น จัดหาและให้บริการยืม – คืนหนังสือ วารสาร เอกสารวิชาการ อุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ 

จัดอบรมบุคลากร นิสิต นักศึกษา ของวิทยาเขตให้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นคว้าหรือสนับสนุนการทำงาน รวมทั้งผลิต จัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการทำงานและการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

เว็บไซต์ห้องสมุดและสารสนเทศ

งานวิจัยและคุณภาพการศึกษา

 ปฏิบัติงานวางแผนและพัฒนางานวิจัย จัดหาทุนสนับสนุนงานวิจัย และเผยแพรและนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวบรวมและประมวล ข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา

งานพัฒนาระบบกลไกการ ประกันคุณภาพการศึกษาเผยแพร่การประกันคุณภาพการศึกษา งานอบรมและบริการวิชาการ รวมทั้งการจัดเก็บสถิติทางวิชาการต่างๆ
เว็บไซต์หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา
http://qa.mcu.ac.th/

Back to top button